ประวัติ ของ อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก

เรือไททานิกและเรือโอลิมปิกเอชเอ็มที โอลิมปิก (HMT Olympic)

หลัง RMS Mauretania เป็นเรือโดยสารใหญ่ที่สุดในโลกมาราว 4 ปี เรือลำแรกในโครงการต่อเรือ 3 ลำของไวต์สตาร์ไลน์ (เป็นการต่อเรือขนาดใหญ่ 3 ใบเถา เน้นรูปแบบการบริการของสายการเดินเรือที่หรูหราเป็นหลักความเร็วเป็นรอง) ชื่อ อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก (RMS Olympic) สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1911 มีขนาดใหญ่กว่าเรือ RMS Mauretania มากกว่า 40% ทำให้กลายเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก

อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก เป็นเรือคู่แฝดกับ อาร์เอ็มเอส ไททานิก เรือโอลิมปิกเบากว่าไททานิก ถึง 1000 ตัน หลังจากออกบริการผู้โดยสารได้ไม่าน เรือโอลิมปิก ต้องถูกส่งซ่อมเป็นเวลา 6 เดือน เพราะเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับเรืออีกลำที่ชื่อ HMS Hawke ด้วยสาเหตุที่สรุปออกมาว่ามาจาก ขนาดและความเร็วของเรือ Olympic มีผลทำให้เกิดกระแสน้ำดึงเอาเรือ Hawke เข้าไปทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว จนเรือชำรุดเสียหายทั้งคู่[7] และเรือโอลิมปิกต้องถูกส่งกลับไปซ่อมแซมที่เบลฟาสต์[8] กัปตันเรือโอลิมปิกในครั้งนั้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน คือกัปตันเอ็ดเวิร์ด เจ. สมิท ผู้ซึ่งต่อมาเป็นกัปตันเรือมรณะไททานิกนั่นเอง[9]

เรือโอลิมปิก ที่ถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นเรือรบ

ต่อมา ใน วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 เรือไททานิกจมลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ หลังจากกชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง ในการเดินทางครั้งแรก มีผู้รอดชีวิตทั้งสิ้นกว่า 700 คนและมีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 คน นับเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเดินเรือ

ภายหลังการอัปปางของเรือไททานิก เรือโอลิมปิกได้รับการปรับปรุงอีกครั้งเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ทำให้เรือโอลิมปิก กลายเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก[10]

หลังจากการจมของเรือไททานิก ทำให้เรือโอลิมปิก ต้องมีการปรับปรุงขนานใหญ่เพื่อความปลอดภัยเป็นเวลา 6 เดือน เช่นการเพิ่มความแข็งแรงของส่วนล่างของเรือ และที่แน่นอน คือการรวมถึงการเพิ่มเรือชูชีพเข้าไปอีกด้วย[11]

ต่อมา สายการเดินเรือฮาเป็ก (Hapag หรือ Hamburg Amerika Line) จากเยอรมนี ได้สร้างเรือ เอสเอส อิมเพอเรเตอร์ (SS Imperator) (ต่อมาเป็น RMS Berengaria ของสายการเดินเรือคูนาร์ด) สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1912 เป็นเรือลำแรกในโครงการต่อเรือ 3 ลำ SS Imperator ใหญ่กว่าเรือโอลิมปิก

ในปี 1914 (2 ปีกว่าหลังเรือไททานิกจม) เรือโอลิมปิกได้ถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นเรือรบเพื่อเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 และเปลี่ยนชื่อเป็น เอชเอ็มที โอลิมปิก (HMT Olympic) และอยู่รอดจนจบสงคราม[12] และถูกนำกับมาใช้เป็นเรือโดยสารเหมือนเดิมในปี 1920 ในกระทั่งในปี 1935 เรือได้เดินทางขนส่งผู้โดนสารเป็นเที่ยวสุดท้ายแล้วกลับเข้าอู่เรือในเมืองเซาท์แธมตัน ประเทศอังกฤษ(Southampton, England) และถูกขายต่อให้บริษัทอุตสาหกรรมโลหะ และถูกแยกชิ้นในปี 1937 นับว่าเป็นเรือลำเดียวจากเรือคู่แฝด 3 ลำที่หมดอายุการใช้งานบนบก

ใกล้เคียง

อาร์เอ็มเอส ไททานิก อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี อาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย อาร์เอ็มเอส มอริเทเนีย อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย อาร์เอ็มเอส แอควิเทเนีย อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ 2 อาร์เอ็มเอส ควีนเอลิซาเบธ อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี 2

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก http://www.atlanticliners.com/olympic_home.htm http://www.celebrity.com/plancruise/ships/ship.do?... http://www.maritimequest.com/liners/olympic_page_1... http://www.merchantnavyofficers.com/cunard6.html http://www.mocpages.com/moc.php/23630 http://query.nytimes.com/mem/archive-free/pdf?res=... http://www.pottsoft.com/home/titanic/white_swan.ht... http://www.shipmagnificent.com/ http://www.thegreatoceanliners.com/olympic.html http://www.titanic-model.com